หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

ลีลาวดี "ลั่นทม"

ลีลาวดี "ลั่นทม"

         “ลั่นทม” ชื่อใหม่ “ลีลาวดี” ชื่อนี้มีความเป็นมาอย่างไร เพื่อผลประโยชน์อันใดไม่ปรากฎแน่ชัด แต่ที่ผ่านมามีกลุ่มบุคคลแอบอ้าง โดยอ้างว่าชื่อใหม่ของ “ลั่นทม” หรือ “ลีลาวดี” นั้นเป็นชื่อที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องจากไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้มงคล แต่กลับเรียกว่า “ลั่นทม” การแอบอ้างชื่อใหม่ของต้น “ลั่นทม” ในลักษณะเช่นนี้ สร้างความสับสนให้กับสังคมเป็นอย่างมาก เพราะคนจำนวนไม่น้อยเข้าใจคลาดเคลื่อน และเชื่อว่าเป็นชื่อพระราชทานจริง แม้แต่สื่อมวลชนบางคนยังเชื่อเช่นนั้นเหมือนกัน การแอบอ้างว่าชื่อ “ลีลาวดี” เป็นชื่อพระราชทานนี้เอง ทำให้ธุรกิจการเพาะพันธุ์ต้น “ลีลาวดี” คึกคักเป็นอย่างมาก เพราะ “ลีลาวดี” เป็นต้นไม้ที่มีความสวยงาม สามารถมาดัดแปลงเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ ที่มีดอกหลากหลายสีได้ บางต้นมีดอกถึง 3 สีในต้นเดียวกัน จึงทำให้ทุกวันนี้ คนไทยหันมานิยมปลูกเลี้ยงต้น “ลีลาวดี” บริเวณบ้านกันมากขึ้น ทั้งที่ในอดีตมีความเชื่อว่าต้น “ลั่นทม” ปลูกในบ้านจะทำให้คนในบ้านมีแต่ความระทม เพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างทั่วถึงและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงมีการชี้แจงว่า “ลีลาวดี” ไม่ใช่ชื่อพระราชทานแต่อย่างใด โดยกองบำรุงรักษาอุทยานสวนจิตรลดา ได้ยืนยันว่า สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไม่ได้พระราชทานนาม “ลีลาวดี” และทรงทักท้วงเกี่ยวกับเรื่องนี้มแล้วในหลายโอกาส ฉะนั้นต่อไปนี้ได้โปรดเข้าใจให้ถูกต้องว่าชื่อใหม่ของ “ลั่นทม” ที่เปลี่ยนมาเป็น “ลีลาวดี” นั้นมีคนอื่นตั้งชื่อกันเอง ไม่ใช่ชื่อพระราชทานตามที่เข้าใจกันแต่อย่างใด (อ้างอิงจาก เว็บพรรณไม้)


ประวัติดอกลีลาวดี


               ดอกลีลาวดีเป็นไม้ที่นำมาจากเขมรทางภาคใต้ เรียกว่า “ต้นขอม” “ดอกอม” ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น “ลั่นทมขาว” เล่ากันว่าไม้นี้นำมาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธมจนได้รับชัยชนะ แล้วได้มีการนำต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” “ลั่น” แปลว่า ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง “ธม” หมายถึง “นครธม” ภายหลัง “ลั่นธม” เพี้ยนเป็น “ลั่นทม” อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข เพราะคำว่าลั่น มีความหมายว่า แตกหัก ละทิ้ง ส่วนคำว่าทม ก็หมายถึงความทุกข์โศก ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับประเทศไทยจะพบมากที่ภาคเหนือ ซึ่งลีลาวดีนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์และมีความสวยงามแตกต่างกัน แต่พันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากเป็นพิเศษนั้นก็คือ พันธุ์ขาวพวง

สรรพคุณทางยา

- ต้น ใช้ปรุงยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า

- ใบ ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ ขับลม

- เปลือกต้น ต้มเป็นยาถ่าย ขับระดู แก้ไข้ แก้โรคโกโนเรีย หรือผสมกับน้ำมันมะพร้าว-ข้าว-มันเนย เป็นยาแก้ท้องเดินยาถ่าย ขับปัสสาวะ

- ดอก ใช้ทำธูป ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไอ แก้ไข้มาราเลีย

- เนื้อไม้ เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย ขับพยาธิ

- ยางจากต้น เป็นยาถ่าย รักษาโรคไขข้ออักเสบ ใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้ปวดฟัน

พันธุ์ขาวพวง - เป็นลีลาวดีโบราณดั้งเดิมในประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น